หน่วยที่ 5
การออกแบบการเรียนการสอน
แนวคิด
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ
หรือความรู้ด้วยตนเอง
โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา
ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น
เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา
หรือผุ้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์
ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น
จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น
ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์
และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบเน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งผู้เรียนจะใช้วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ
ที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพและตรงกับธรรมชาติของวิชา หรือปัญหา
ดังนั้นจึงมีผู้นำเสนอวิธีการการจัดการเรียนรู้ไวหลากหลาย เช่น
การแนะให้ผู้เรียนพบหลักการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองโดยวิธีอุปนัย
การที่ผู้เรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาแล้วนำไปสู่การค้นพบ
มีการกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐานและรวบรวมข้อมูล
ทดสอบสมมติฐานและสรุปข้อค้นพบ
ซึ่งอาจใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการทดลองด้วย การที่ผู้สอนจัดโปรแกรมไว้ให้ผู้เรียนใช้การคิดแบบอุปนัยและนิรนัยในเรื่องต่างๆ
ก็สามารถได้ข้อค้นพบด้วยตนเอง ผู้สอนจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา
แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้วิธีหรือกระบวนการที่เหมาะสม
จากเหตุผลดังกล่าว
ขั้นตอนการเรียนรู้จึงปรับเปลี่ยนไปตามวิธีหรือกรอบกระบวนการต่างๆที่ใช้
แต่ในที่นี้จะเสนอผลการพบความรู้ ข้อสรุปใหม่
ด้วยการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
2. ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย
2.1 ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้
แบบอุปนัยในตอนแรก เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
2.2 ผู้สอนใช้วิธีตัดการเรียนรู้ แบบนิรนัย
เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ในข้อ 2 ไปใช้เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง
โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม โต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
2.3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
3. ขั้นนำไปใช้
ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา
อาจใช้วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน
เพื่อประเมินผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่
ประโยชน์
1. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
2. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3. ผู้เรียนมีความมั่นใจ
เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
4. ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
5. ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
6. ก่อให้เกิดแรงจูงใจ
ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
7. ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง เช่น
การหาข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปข้อความรู้
8. เหมาะสมกับผู้เรียนที่ฉลาด มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง
ความหมาย
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง
โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหาซึ่งในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น
เช่น ผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา
ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา
ดังนั้นจึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ
เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิชาอื่นๆ ได้
ในการแก้ปัญหานั้นผู้เรียนจะต้องนำข้อมูล มาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์
และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ อาจแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
การค้นพบที่มีแนวทาง (Guide Discovery Method)
เป็นวิธีการที่ผู้สอนนำผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาโดยการใช้คำถามที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสม
และอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบความคิดรวบยอดหรือหลักการ
การค้นพบด้วยตนเอง (Pure Discovery Method)
เป็นวิธีการที่คาดหวังว่าผู้เรียนจะนำไปสู่ความคิดรวบยอดและหลักการได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับคำแนะนำจากผู้สอน
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต
การคิดวิเคราะห์ ทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถสรุปหรือค้นพบหลักการ กฎเกณฑ์
ประเด็นสำคัญหรือความจริงได้ด้วยตนเอง
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
หลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายได้
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย
1
ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้ แบบอุปนัยในตอนแรก
เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
2 ผู้สอนใช้วิธีจัดการเรียนรู้ แบบนิรนัย
เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้
ในข้อ 1 ไปใช้ เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง
โดยอาศัย เทคนิค การซักถามโต้ตอบ
หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
ขั้นนำไปใช้
ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอแนวทางการนำข้อค้นพบที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหา
อาจจะใช้วิธีการให้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อประเมิน ผลว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริงหรือไม่
ข้อดี
ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล
ช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
ผู้เรียนมีความมั่นใจ
เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
ปลูกฝังนิสัยรักการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
ก่อให้เกิดแรงจูงใจ ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เช่น การหาข้อมูล การวิเคราะห์ และสรุปข้อความรู้
ทักษะที่เรียนการการค้นพบจะถ่ายทอดไปยังการเรียนเรื่องใหม่ได้โดยง่าย
เหมาะกับผู้เรียนที่ฉลาดมีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง
ข้อจำกัด
ต้องใช้เวลาในการสอนมากพอสมควร
ไม่เหมาะกับชั้นเรียนที่ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันมาก
เพราะผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้าจะเกิดความท้อแท้ใจเมื่อเห็นเพื่อนในห้องทำได้
วิธีการสอนแบบค้นพบเหมาะสำหรับเนื้อหาบางตอน
และเนื้อหาที่ไม่เคยเรียนมาก่อนเท่านั้น
วิธีการสอนแบบค้นพบที่ต้องคิดเหตุผลและตั้งสมมุติฐาน
เหมาะกับผู้เรียนในวัยที่สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับนามทธรรมได้
ผู้เรียนที่มีความสามารถไม่มากนัก
จะมีความยุ่งยากใจมากในการเรียนโดยวิธีนี้ โดยเฉพาะที่ต้องสรุปบทเรียนด้วยตนเอง
วิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ 7 ส
วิธีการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ
7 ส เป็นการนำทฤษฎีการสอนของเจอร์รูม
บรูเนอร์ (Jerome Bluner) ผู้สนับสนุนวิธีการสอนแบบค้นพบ
และทฤษฎีการเรียนรู้โดยการกระทำของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey)โดยนำวิธีการจัดการเรียนรู้
2 แบบมาประยุกต์ให้เป็นวิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความคำตอบ
และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
และสามารถนำทักษะกระบวนการไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
ซึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มาจากแนวคิดดังกล่าวประกอบด้วย
วิธีสอนแบบค้นพบ (Discovery Method)
กระบวนการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Learning Process : DLP) โดยใช้ทักษะ 7
ส
ความหมาย วิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ 7 ส คือ
กระบวนการสอนที่ครูใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
โดยการนำตัวอย่าง ข้อมูล ความคิด เหตุการณ์ สถานการณ์ ปัญหา หรือ ความคิดรวบยอด
ข้อสรุป กฎเกณฑ์ มาให้ผู้เรียนใช้ทักษะสงสัย สังเกต สัมผัส สำรวจ สืบค้น สั่งสม
และสรุปผล ในการค้นคว้าหาข้อสรุป หรือหาหลักการ แนวคิด ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์ วิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ 7 ส เป็นวิธีการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกใช้ทักษะสงสัย สังเกต สัมผัส
สำรวจ สืบค้น สั่งสม และสรุปผล เป็นกระบวนการในการคิดหาคำตอบ หาข้อสรุป
ได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นนำ
สงสัย
( การนำเข้าสู่บทเรียน
ครูสร้างสถานการณ์หรือคำถามให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยในเรื่องที่จะเรียน )
สังเกต (
ฝึกให้ผู้เรียนมองหารายละเอียดของเรื่องที่เกิดความสงสัย )
2. ขั้นสอน
สัมผัส (
ฝึกให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ )
สำรวจ ( ฝึกให้ผู้เรียนมองหาความสัมพันธ์
ความเชื่อมโยง ความเกี่ยวข้องของเรื่องที่จะเรียน )
สืบค้น (
ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ หลักการ แนวคิด )
3. ขั้นฝึกทักษะ
สั่งสม (
ให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองสู่ความชำนาญโดยการนำแนวคิดมาใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย )
4. ขั้นสรุป
สรุปผล (
ให้ผู้เรียนรวบรวมแนวคิดมาสรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเอง )
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบค้นพบโดยใช้ทักษะ
7 ส แบ่งการวัดผลและประเมินผลเป็น 2 ส่วน ดังนี้
การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวัดและประเมินผลทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์
วิธีการวัด
ตรวจผลงาน เช่น แบบฝึก ใบงาน แบบทดสอบ
สังเกตความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
เครื่องมือวัด
แบบฝึก ใบงาน แบบทดสอบ
แบบวัดความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เกณฑ์การประเมิน
1. การประเมินแบบทดสอบ
แบบฝึก ใบงาน ใบกิจกรรม
1.1 ทำแบบทดสอบหรือแบบฝึกได้ถูกต้อง
(คะแนนรายข้ออยู่ในดุลยพินิจของครู)
1.2 ใบงานหรือใบกิจกรรม
(เกณฑ์การประเมินตามความเหมาะสมกับลักษณะของงาน และอยู่ในดุลยพินิจของครู)
2. การวัดความสามารถด้านทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ให้สังเกตจากพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบความรู้
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบความรู้
หมายถึง วิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ผู้เรียนเป็นคนค้นพบความรู้นั้นเป็นคนแรก
แต่ผู้เรียนค้นพบคำตอบที่มีผู้ค้นพบมาก่อนแล้ว นั้นด้วยตนเอง
ไม่ใช่การบอกเล่าจากคนอื่น
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบความรู้
1. เผชิญปัญหาที่น่าสงสัยหรือสถานการณ์ที่น่าสงสัย อาจเกิดจากการใช้คำถาม
เอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ การทดลองประกอบการซักถาม
อาจเป็นการที่ผู้เรียนเผชิญกับสิ่งนั้นด้วยความตั้งใจหรือความบังเอิญ
ผู้เรียนจะต้องสังเกต สำรวจ
แล้วตีความหมายของสิ่งนั้นเป็นปัญหาหรือสิ่งที่น่าค้นหา สถานการณ์หรือสภาวะ
ที่เป็นตัวกระตุ้นความคิดและความสนใจนั้นเรียกว่า สิ่งกระตุ้นความคิดสืบค้น
2. สัมพันธ์และรวบรวมข้อมูลหรือขั้นคิดสืบค้นเมื่อมีปัญหาก็จะมีการตั้งสมมุติฐานเบื้องต้น
เพื่อเป็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูล
แล้วไปรวบรวมข้อมูลจากการทดลองหรือแหล่งวิชาต่างๆ หรือถ้าไม่ตั้งสมมุติฐานก็ต้องมีข้อสนใจที่อยากรู้อยากคิดหรืออยากค้นคว้าต่อไป
ฉะนั้นขั้นนี้อาจเป็นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งต่อไปนี้
1. คำถาม-คำตอบ ที่ตัวผู้เรียนคิดเองไปเรื่อยๆจนหาข้อสรุปใหม่ได้
2. คำถาม-คำตอบที่มีผู้อภิปรายที่มีผู้อื่น(เช่นครู)กระตุ้นให้คิดจนสรุปความคิดความรู้ใหม่เองได้
เคยใช้วิธีให้ผู้เรียนเป็นผู้สังเกต
ช่างซักถามและรู้จักถามคำถามที่เลือกสรรแล้วด้วย ครูจะตอบว่าใช่-ไม่ใช่เท่านั้น
จนกระทั่งผู้เรียนสรุปคำตอบเองได้
3. การดำเนินการจัดหาข้อมูล โดยเริ่มคิดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นแล้วแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆ
เพื่อคิด ค้นคว้า หาข้อมูล
4. การดำเนินงานจัดระบบข้อมูลโดยเริ่มจากการตั้งงานที่เฉพาะเจาะจง
3. สรุปความรู้ที่ค้นพบใหม่ นำเอาสิ่งที่ค้นพบได้จากการรวบรวมข้อมูล มาสรุปเป็นแนวคิดใหม่
เพื่อขยายแนวคิดเดิมนั้น มีกิจกรรมเด่นคือ
การสร้างความหมายให้กับข้อมูลและการค้นพบสิ่งใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น